วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สินค้าและของฝาก



ของฝากเมืองพะเยา
...สินค้าพื้นเมืองและของฝาก...

                                          
ผ้าทอไทยลื้อ

ผ้าทอไทยลื้อศิลปะและลวดลายบนพื้นผ้าที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองของชาวไทยลื้อแวะไปชมวิธีการทอและซื้อหาได้บริเวณ วัดพระธาตุสบแวน ยามว่างจากภาระกิจประจำ แม่บ้านจะมา                  รวมตัวกันทอผ้าที่นี่ นอกจากนั้นยังหาซื้อได้ที่ตลาดนัดบ้านฮวก กิ่งอำเภอภูซาง ซึ่งจะจัดทุกวันที่ 10 และ 30 ของทุกเดือน
                               
หมู่บ้านทำครกและโม่หินบ้านงิ้ว

                  หมู่บ้านทำครกและโม่หินบ้านงิ้ว ตำบลบ้านสาง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเดียว กับทางไปวัดอนาลโย (เป็นถนนรอบกว๊านพะเยา)  และทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมหลังการทำนาคือการทำครก โม่หิน ใบเสมา และลูกนิมิต เป็นต้น โดยทำเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัว และส่งไปขายในตัวเมืองพะเยา
 
 หมู่บ้านทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา
               หมู่บ้านทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาอยู่ที่บ้านสันป่าม่วงใช้เส้นทางเดียวกับทางไปหมู่บ้านทำครกและโม่หิน ห่างกันประมาณ 2 กิโลเมตรชาวป่าม่วงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มขึ้นทำเป็นงานอดิเรก ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักตบชวา ได้แก่ หมวก กระเป๋า จานรองแก้ว และของประดับตกแต่งต่างๆ

ปลาส้มพะเยา
                           เป็นอาหารพื้นเมืองเหนือโบราณ ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพะเยาทำมาจากเนื้อปลา นำมาหมักกับเกลือ ข้าว กระเทียม โดยไม่ใส่สารกันบูด สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น ยำ ทอด ย่าง รับประทานได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่จังหวัดพะเยาขึ้นชื่อในเรื่องปลาส้มอร่อยและนิยมนำมาเป็นของฝากให้แก่นักท่องเที่ยวที่แวะมาเยือนจังหวัดพะเยา

 กาละแมโบราณ เชียงคำ

                          กะละแมโบราณในที่นี้เป็นสูตรของชาวไทลื้อ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นขนมหวานที่มีความเป็นมาแต่ยาวนาน
โดยมีที่มาดังนี้ เนื่องด้วยประเพณีงานบวชงานบุญ ของชาวไทลื้อสมัยโบราณ มักนิยมทำขนมปาด ซึ่งเป็นขนมลักษณะ คล้ายกับขนมชั้น
แต่จะนิ่มกว่าซึ่งเป็นขนมที่นิยม ของชาวไทลื้อ แต่ขนมปาดเก็บรักษาได้ไม่นาน แค่ 2 วันก็เน่าเสีย ต่อมาเมื่อมีงานประเพณีสืบสานตำนานไทลื้อ
กลุ่มกะละแมบ้านดอนไชย หมู่ 5 ตำบลหย่วนอำเภอเชียงคำจึงได้รวมกลุ่มกันประมาณ 40 กว่าคนตั้งกลุ่มทำขนมปาด และกวนขนมปาดขาย
ในงานดังกล่าว ซึ่งขายได้ดีมากและแขกที่มาจากต่างจังหวัด ซื้อเป็นของฝากกลับบ้าน แต่เก็บได้ไม่นานเมื่อเสร็จจากงานสืบสานตำนานไทลื้อ
ทางกลุ่มจึงได้ปรึกษากันเพื่อหาวิธีการที่จะเก็บขนมปาดให้มีอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้นโดยไม่พึ่งสารเคมี ต่อมากลุ่มฯ ได้ส่งตัวแทนไปอบรม
วิธีการทำขนมต่าง ๆ ที่ YMCA เชียงราย และกลับมาช่วยกันหาวิธีทำขนมกวนซึ่งมีลักษณะคล้ายขนมปาด โดยทำ กะละแมโบราณขึ้นซึ่งใช้
วิธีกวนเหมือนกัน ส่วนผสมคล้ายกัน ต่างกันตรงที่ขนมปาดใช้แป้งข้าวเจ้ากะละแมโบราณใช้แป้งข้าวเหนียว ขนมปาดมีสีแดงจากน้ำอ้อย
กะละแมมีสีดำ โดยใช้กากมะพร้าวเผาการทำกะละแมโบราณ เน้นย้ำที่ความหอมจากใบตองและกรรมวิธีแบบโบราณ
                            

 ข้าวหอมมะลิแท้ 100%

                               อาชีพการทำนา เป็นอาชีพที่ชาวอำเภอจุนทำกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษทุกยุคทุกสมัย ซึ่งเป็นอาชีพที่คนในชนบทต้องทำเพื่อใช้เป็นอาหารหลักประจำวัน และทำกับเกือบทุกครัวเรือน ในสมัยก่อนยังไม่เครื่องจักรอุตสาหกรรมมาใช้ในนา ต้องใช้แรงงานคนในการทำทุกขั้นตอน และใช้สัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควายช่วยไถนา และจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้จะมีเครื่องจักรเข้ามามีบทบาทในการทำนาแต่ก็มีชาวนาในชนบทก็ยังใช้แรงงานคนในการลงแขกทำนาและใช้มูลสัตว์ ผลิตเป็นปุ๋ยเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการทำนา แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบเรียบง่ายแบบพี่แบบน้อง พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีแบบดั้งเดิมเอาไว้อำเภอจุนก็เป็นอำเภอหนึ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา และมีรายได้จากการทำนาเป็นหลักและข้าวที่ปลูกคือข้าวหอมมะลิ ซึ่งมีพื้นที่สำหรับปลูกมากกว่า 70 % ของพื้นที่ทั้งหมดเพราะข้าวหอมมะลิเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด เนื่องจากประธานกลุ่มปลูกข้าวหอมมะลิอำเภอจุนได้ส่งข้าว  หอมมะลิเข้าประกวดได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ได้รับโล่รางวัลจากสมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชสยามบรมราชกุมารในแรกนาขวัญประจำปี 2543 ตั้งแต่นั้นมาจึงทำให้เกษตรกรในพื้นที่อำเภอจุนจึงมีการตื่นตัวที่จะใช้พื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้น เนื่องจากข้าวมีคุณภาพดีเมื่อนำมาแปรรูปเป็นข้าวสารสีของข้าวสาร เมล็ดจะมีสีใส เมล็ดสวย เมื่อนำไปหุง ข้าวจะขึ้นหม้อดีเมื่อข้าวสุกแล้วจะหอมเมล็ดสวย อ่อนนุ่ม ข้าวไม่แฉะ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งตลาดภายในจังหวัดและต่างจังหวัด


ไวน์ห้วยข้าวก่ำ

                  อำเภอจุนมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าว และผลไม้พื้นบ้านซึ่งเกิดจากธรรมชาติมีจำนวนมาก ราคาผลผลิตด้านการเกษตรตกต่ำไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิตสมาชิกกลุ่มจึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้านการเกษตรให้คุ้มกันต้นทุนการผลิตโดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นมรดกตกทอดของท้องถิ่นมาทดลองทำต่อเนื่องหลายครั้งจนมีรสชาติเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเครือญาติจึงขยายออกไปยังเพื่อนบ้านและสมาชิก จึงเริ่มจัดตั้งกลุ่มขึ้นโดยการนำผลผลิตด้านการเกษตรมาแปรรูปเพื่อให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งไวน์ข้าวก่ำเป็นข้าวที่ปลูกกันมากและเป็นชื่อของตำบลห้วยข้าวก่ำจึงตั้งชื่อว่าไวน์ข้าวก่ำและยังมีผลไม้ชนิดอื่นๆที่นำมาผลิตอีกจำนวนมาก เช่น ไวน์ผลไม้รวม ไวน์กระชายดำ เป็นต้น


 หมูสวรรค์

                               หมูสวรรค์ สถานที่ตั้ง;เลขที่ 132 หมู่ที่ 2 ตำบลคือเวียง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา 56120 
                               ที่ติดต่อสั่งซื้อสินค้า;นางทองจ่าน ปิงยศ โทร 0810266140
                               จุดเด่น ของหมูสวรรค์ คือ
                                                                    1. มีกลิ่นที่หอม
                                                                    2. กรอบและอร่อย
                                                                    3. อาหารสะอาด
                                                                    4. ถูกหลักอนามัย

การท่องเที่ยว



แหล่งท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยว

 วัดศรีอุโมงค์คำ อำเภอเมือง จ.พะเยา
มีพระเจดีย์สมัยเชียงแสนที่มีสภาพสมบูรณ์ เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยา นามว่า "หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์"

วัดพระธาตุจอมทอง อำเภอเมือง จ.พะเยา
นมัสการเจดีย์พระธาตุจอมทอง และยังได้ชมทัศนียภาพอันสวยงามของกว๊านพะเยาจากยอดเขา

อุทยานแห่งชาติภูซาง อำเภอแม่ใจ จ.พะเยา
อุทยาน แห่งชาติภูซาง เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดอยผาหม่น อยู่ในเขตกิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
 
เป็นแนวเขตยาวประมาณ 30 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 178,049 ไร่ อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง อำเภอเมือง จ.พะเยา อดีต กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาวลำดับที่ 9 ระหว่างปี พ.ศ. 1801 - 1841 เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองมาก ประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา (สวนสมเด็จย่า 90) หน้ากว๊านพะเยา เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพ่อขุนเม็งรายแห่งเมืองเชียงราย

สถานีประมงน้ำจืดพะเยา และพระตำหนักกว๊านพะเยา อำเภอเมือง จ.พะเยา
ตั้ง อยู่ถนนพหลโยธินระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 734-735 เป็นสถานีเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด มีพิพิธภัณฑ์ปลาบึก แสดงเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ปลาบึกครั้งแรกของโลก โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ที่เลี้ยงไว้ในบ่อดิน ปลาบึกเป็นปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ด ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มที่ยาว 3 เมตร น้ำหนัก 250 กิโลกรัม

ศูนย์อุตสาหกรรมอัญมณี อำเภอเมือง จ.พะเยา
ตั้ง อยู่ริมถนนพหลโยธิน กม.ที่ 723 ตำบลแม่กา ห่างจากตัวเมือง 14 กิโลเมตร จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการอบรมอาชีพด้านอุตสาหกรรมสาขาอัญมณีและ เครื่องประดับ

หอวัฒนธรรมนิทัศน์ อำเภอเมือง จ.พะเยา
อยู่ ใกล้กับวัดศรีโคมคำ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีรูปแบบการตกแต่งสวยงามจัดแสดงโบราณวัตถุ เอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยา และเรื่องราวความเป็นมาทั้งด้านวรรณกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพะเยา เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวต่างชาติ 40 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท โทร. 0 5441 0058-9

อุทยานแห่งชาติแม่ปืม (ดอยงาม) อำเภอแม่ใจ จ.พะเยา
อุทยาน แห่งชาติแม่ปืม อุทยานแห่งชาติป่าแม่ปืม ได้ดำเนินการสำรวจและจัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 มีพื้นที่อยู่ใน จังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 356 ตารางกิโลเมตร หรือ 222,500 ไร่ โดยมีพื้นที่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยปุย อ.เมือง จ.เชียงราย เนื้อที่ 67,500 ไร่

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า อำเภอปง จ.พะเยา
เริ่ม ดำเนินงานเมื่อ พ.ศ.2530 ในเขตหมู่บ้านปางค่า ต.ผาช้างน้อย เพื่อส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขิ้นและป้องกันปัญหาการบุกรุก ทำลายป่า ตลอดจนส่งเสริมคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดีขึ้น พื้นที่เป็นภูเขาและเนินเขา อุณหภูมิเฉลี่ย 25.8 องศาเซลเซียส ประชากรประกอบด้วยชนเผ่าม้ง และเผ่าเย้า

ศูนย์พัฒนา วนอุทยานภูลังกา อำเภอปง จ.พะเยา
สัมผัสทะเลหมอก ดอกไม้ป่า พิชิตภูลังกา ภูนม ชมอาทิตย์ขึ้นลง เข้าดงก่อโบราณ กังวาลเสียงนก น้ำตกสวยใส ประทับใจดอกโคลงเคลง

วัดท่าฟ้าใต้ อำเภอเชียงม่วน จ.พะเยา
บน เส้นทางสายปง-เชียงม่วน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2311โดยครูธรรมเสนาและพ่อเฒ่าแสนอัฐิ ผู้นำชาวไทลื้อซึ่งอพยพมาจากสิบสองปันนา ลักษณะตัวพระอุโบสถเป็นทรงเตี้ยก่ออิฐถือปูน

ศูนย์วัฒนธรรมไทยลื้อ อำเภอเชียงคำ จ.พะเยา
ตั้งอยู่ที่วัดหย่วนในอำเภอเชียงคำ

วัดพระเจ้านั่งดิน อำเภอเชียงคำ จ.พะเยา
อยู่ ในตำบลเวียง ไปตามทางหลวง 1148 ห่างจากตัวอำเภอ 4 กิโลเมตร เป็นวัดที่องค์พระประธานของวัดไม่มีฐานชุกชีรองรับเหมือนกับพระประธานองค์ อื่นๆ เคยมีราษฎรสร้างฐานชุกชีเพื่ออัญเชิญพระประธานขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่าพยายามยกเท่าไรก็ยกไม่ขึ้น จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน

วัดนันตาราม อำเภอเชียงคำ จ.พะเยา
อยู่ ที่บ้านดอนไชย ไม่ปรากฎว่าสร้างเมื่อไร เป็นวัดที่มีศิลปะแบบไทยใหญ่ ตัววิหารสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังตกแต่งลวดลายฉลุไม้อย่างสวยงามตามส่วน ประกอบต่างๆ เช่น หน้าต่าง หน้าบัน ระเบียง เป็นต้น ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์ธนบัตรเก่า เครื่องใช้โบราณ ผ้าลายโบราณ ภาพวาดโบราณเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเทศน์มหาชาติแต่ละตอน เปิดให้เข้าชมเวลา 08.00 - 18.00 น.

วัดแสนเมืองมา อำเภอเชียงคำ จ.พะเยา
สร้าง ในสมัยรัชกาลที่ 1 ราว พ.ศ.2351 สร้างโดยชาวเมืองมาง มณฑลยูนานที่ถูกเจ้าเมืองน่านกวาดต้อนมาจนกระทั่งมาตั่งถิ่นฐานที่อำเภอ เชียงคำนี้

กว๊านพะเยา อำเภอเมือง จ.พะเยา
 
กว๊านพะเยา กว๊าน หมายถึง หนองน้ำหรือบึงน้ำขนาดใหญ่ คำนี้มีใช้ในท้องถิ่นล้านนาเฉพาะที่จังหวัดพะเยาแห่งเดียวเท่านั้น

หมู่บ้านทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา อำเภอเมือง จ.พะเยา
อยู่ ที่บ้านสันป่าม่วงใช้เส้นทางเดียวกับทางไปหมู่บ้านทำครกและโม่หิน ห่างกันประมาณ 2 กิโลเมตร ชาวป่าม่วงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มขึ้นทำเป็นงานอดิเรก ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักตบชวา ได้แก่ หมวก กระเป๋า จานรองแก้ว และของประดับตกแต่งต่างๆ

วัดอนาลโยทิพยาราม อำเภอเมือง จ.พะเยาตั้งอยู่บนดอยบุษราคัมห่างจากตัวจังหวัด 20 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 1 (พะเยา - เชียงราย) ประมาณ 7 กิโลเมตร

วัดศรีโคมคำ อำเภอเมือง จ.พะเยา
เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า วัดพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 16 เมตร สูง 18 เมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034 - 2067 พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง
วัฒนธรรมประเพณี
งานประเพณีปู่จากพญานาค (บูชาพระลอ)
จัดบริเวณโบราณสถานเวียงลอ บ้านห้วยงิ้ว อำเภอจุน ในงานมีกิจกรรมพิธีไหว้บรรพบุรุษของเวียงลอ ขบวนแห่และงานแสดงแสงสีเสียง การแสดงทางวัฒนธรรม

งานกาชาดและงานฤดูหนาว
จัดประมาณปลายเดือนธันวาคม-ต้นเดือนมกราคม ณ บริเวณสนามข้างสถานีขนส่ง จังหวัดพะเยา กิจกรรมจะมีการออกร้านของหน่วยงานราชการ การแสดงทางวัฒนธรรมและการประกวดต่างๆ

งานเปิดโลกอุตสาหกรรมอัญมณี และของดีเมืองพะเยา
ครั้งที่ 3 จัดระหว่างวันที่ 1-5 กุมภาพันธ์ณ ศูนย์อุตสาหกรรมอัญมณี ตำบลแม่กา อำเภอเมือง ในงานมีการแสดงการผลิตเครื่องประดับเงิน ทองคำ การเจียระไนเพชร

งานสืบสานตำนานไทลื้อ
ดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 2 ณ วัดพระธาตุสบแวน อำเภอเชียงคำ กิจกรรมจะมีขบวนแห่ การสาธิตศิลปวัฒนธรรมไทลื้อ นิทรรศการ